การ “สำลักอาหาร” เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวมาก ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะการสำลักอาหารผู้สูงอายุและในเด็กเล็ก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เรามักจะมีการลำลักอาหารได้บ่อยเกิดจากการทานอาหารไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็ประมาทไม่ได้ ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการสูญเสีย ที่เกิดตามมาได้จากการสำลักอาหารเข้าหลอดหลอดลมหรือปอด จนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในที่สุด แล้วการสำลักแบบไหน หรือสำลักบ่อยแค่ไหนที่ควรไปพบแพทย์บ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
การสำลัก คือ มีสิ่งแปลกปลอมหลุดผ่านเข้าไปในทางเดินอาหาร หรือทางเดินหายใจส่วนล่างในขณะที่หายใจเข้า แล้วส่งผลให้เกิดการสำลักอาหารเข้าปอด อาการแสดงออกตามมาภายหลัง ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับปริมาณ ลักษณะชองที่ทำให้เกิดการสำลัก เป็นของแข็ง ของเหลว เศษอาหาร หรือกรดจากกระเพาะอาหาร ที่มีค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ความถึ่ของการสำลัก รวมไปถึงการตอบสนองของสิ่งแปลกปลอม
ใครบ้างมีความเสี่ยงต่อการสำลักได้
เราทุกคนสามารถเกิดการสำลักได้ ไม่ว่าจะเป็นการสำลักน้ำ สำลักอาหาร หรือสำลักน้ำลาย แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักได้ง่ายกว่าปกติ ได้แก่
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสอมง
- ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
- ผู้มีอาการพาร์กินสัน ปลอกประสาทอักเสบ
- มีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ
- ผู้ป่วยได้รับการฉายแสง
- ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
- ผู้ที่มีความผิดปกติระบบประสาทกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะกลืนลำบาก
- ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย เป็นต้น
- ผู้ที่ใช้ยาระงับคลายเครียด (anxiolytics)
ทำไมการสำลักในผู้สูงอายุ จึงเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
เนื่องจากอวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุเสื่อมประสิทธิภาพลง ทั้งระบบการทำงานช้าลง และระบบภูมิคุ้มกันเริ่มไม่แข็งแรง ส่งผลให้เกิดการสำลักได้ง่าย และอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เช่น เกิดการสำลักอาหารเข้าปอด จนทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุที่มีการสำลักมาก ๆ จนทำให้กลืนอาหารลำบาก หรือเกิดความกลัว จนไม่ยอมกลืนอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร รวมไปถึงผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคบางชนิด ที่มักจะมีสำลักน้ำลาย หรือมีเสมหะมากจนเข้าไปอุดกลั้นทางเดินหายใจ จนนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ดังนั้น หากผู้สูงอายุที่บ้านมักมีการสำลักบ่อย ๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อย่าปล่อยให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง จนส่งผลต่อสุขภาพ และเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงตามมาได้
ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุคืออะไร
การกลืนลำบากมีอยู่ 2 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่
- อาการกลืนติด คือ ของที่สำลักมักจะมีลักษณะเป็นของแข็ง เช่น ข้าว เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ขสมต่าง ๆ เป็นต้น
- อาการกลืนสำลัก คือ สำลักของเหลว หรือ น้ำ เมื่อกลืนแล้วจะมีการสำลักและไอตามมา
สำลักบ่อยแค่ไหน หรืออาการสำลักแบบไหน ควรไปพบแพทย์
- เกิดการสำลักบ่อย ๆ หรือแทบทุกครั้งเมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ
- เกิดการสำลักจนมีอาการหน้าแดง ไอ หรือหอบรุนแรง หรือมีอาการทางเดินหายใจอุดกั้น
- สำลักจนกลืนลำบาก ทานอาหารได้น้อย จนขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวลดลง
- เคยมีประวัติการติดเชื้อจากการสำลักมาแล้ว
- มีการสำลักในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น โรคระบบทางสมอง ระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต พาร์กินสัน เป็นต้น
รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการสำลักในขั้นรุนแรง
สามารถตรวจสอบระดับความรุนแรงของการสำลักด้วยการตรวจ Dysphagia videofluoroscopy โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในช่องคอหอย และให้ผู้ป่วยทำการกลืน เพื่อดูลักษณะ จังหวะการกลืน และการไหลย้อนของอาหาร หากเกิดการสำลักมากกว่า 10% ในการกลืนทั้งหมด แสดงว่าผู้ป่วยอยู่ในขั้นสำลักรุนแรง หรือฝากล่องเสียงไม่ปิดขณะเกิดการสำลัก อาจทำให้อาหารเข้าหลุดเข้าไปในหลอดลมหรือปอด จะทำให้เสี่ยงอันตรายต่อการเสียชีวิตได้