Month: February 2023

สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ เราช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง 

สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ เราช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง 

สัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษ ซึ่งอาจเป็นพิษจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร หรือจากข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน หรือแม้แต่พิษจากสัตว์อื่น แต่สิ่งแรกที่ต้องเราต้องทำ คือ ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยลดความเป็นพิษ และยังยั้งการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่จะส่งผลอันตรายต่อชีวิตสัตว์เลี้ยงระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งการปฐมพยาบาลที่เราจะนำมาแนะนำนี้ เหมาะกับการใช้ในกรณีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษไม่เกิน 4 ชั่วโมง  ส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงอย่าง น้องหมา น้องแมวจะได้รับสารพิษผ่าน ผิวหนัง ขน ตา การกิน และการเลียเข้าปาก วิธีรักษาเบื้องต้นจึงแตกต่างกันไปตามช่องทางที่ได้รับพิษ  สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษผ่านผิวหนังหรือขน  น้องหมา น้องแมวที่ได้รับพิษผ่านผิวหนังหรือขน จำเป็นที่จะต้องตัดขนอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการใช้ล้างด้วน้ำอุ่นผสมสบู่ แชมพู หรือ น้ำยาล้างจาน ล้างให้ทั่วตัวหรือบริเวณที่โดนพิษหลาย ๆ ครั้ง ห้ามถูตัวแรง ๆ เพราะอาจยิ่งทำให้เกิดการระคายเคือง หรือกระตุ้นสารพิษซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้ง และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  สารพิษเข้าตาสัตว์เลี้ยง   เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับพิษเข้าตา ให้รีบใช้น้ำสะอาดอุณหภูมิปกติไหลผ่านตาเบา ๆ โดยใช้เวลา 10-20 นาที ขึ้นไป แล้วรีบพาไปหาหมอทันที  สัตว์เลี้ยงกินหรือเลียสารพิษเข้าปาก กรณีที่สัตว์เลี้ยงเผลอเลียหรือกินสารพิษเข้าไปแต่ยังรู้สึกตัวอยู่ ให้กระตุ้นทำให้อาเจียนและป้อนสารดูดซับสารพิษ แต่ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาดหากสัตว์เลี้ยงหมดสติหรือไม่รู้สึกตัว และสารพิษที่น้องหมาน้องแมวได้รับมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เพราะจะยิ่งทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับอันตราย แต่ให้ทำการล้างช่องปากและบริเวณโดยร้อบด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านแทน…

ยาหยดเห็บ หมัด อันตรายไหม คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้! 

ใครที่มีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะ น้องหมา น้องแมว ทั้งหลาย จะมีปรสิตที่คอยรบกวนให้น่ารำคาญใจ และยังก่อให้เกิดโรคอันตรายกับสัตว์เลี้ยงแสนรักของเรานั่นคือ “เห็บ” และ “หมัด” เจ้าของจึงมักจะเลือกใช้ยาหยดเห็บหมัด เพื่อกำจัดเสี้ยนหนามเหล่านี้ออกไป ซึ่งยากำจัดเห็บหมัดที่จำหน่ายในปัจจุบันมีทั้งในรูปของยาหยดหลัง สเปรย์ ยาพ่น แชมพู และปลอกคอกันเห็บหมัด แต่ขณะเดียวกันส่วนประกอบในยาหยอดเห็บหมัดกว่าร้อยละ 90 เป็นสารเคมี ที่อาจมีผลข้างเคียงและเกิดโทษกับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเจ้าของด้วยเช่นกัน หากไม่รู้วิธีหยอดยาเห็บหมัดสุนัข หรือใช้หยอดยาเห็บหมัดแมวเกินขนาด วันนี้เราจะมาชวนเพื่อน ๆ ทำความรู้จักกับภัยของยากำจัดเห็บหมัดว่ามีสารพิษอะไรบ้าง และมีอาการอย่างไรเมื่อได้รับสารพิษ เพื่อจะได้นำไปสังเกตความผิดปกติของสัตว์เลี้ยงและช่วยชีวิตพวกเขาได้ทันท่วงที  1. ไอเวอร์เมกตินและอนุพันธ์  กลุ่มยากำจัดเห็บหมัดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในไทย มีทั้งในรูปแบบยาแก้เห็บหมัดแบบกิน ป้ายปาก หยอดหลัง และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง นอกจากใช้ในเรื่องของเห็บหมัดแล้ว ยังใช้เพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วย แต่มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มนี้เช่นกัน โดยเฉพาะ ยาไอเวอร์เมกติน ห้ามใช้กับน้องหมาสายพันธุ์ที่ไวต่อพิษเด็ดขาด ได้แก่ ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด (Australian Shepherd) เชตแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก (Old…