สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ เราช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง 

สัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษ ซึ่งอาจเป็นพิษจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร หรือจากข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน หรือแม้แต่พิษจากสัตว์อื่น แต่สิ่งแรกที่ต้องเราต้องทำ คือ ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยลดความเป็นพิษ และยังยั้งการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่จะส่งผลอันตรายต่อชีวิตสัตว์เลี้ยงระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งการปฐมพยาบาลที่เราจะนำมาแนะนำนี้ เหมาะกับการใช้ในกรณีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับสารพิษไม่เกิน 4 ชั่วโมง 

ส่วนใหญ่สัตว์เลี้ยงอย่าง น้องหมา น้องแมวจะได้รับสารพิษผ่าน ผิวหนัง ขน ตา การกิน และการเลียเข้าปาก วิธีรักษาเบื้องต้นจึงแตกต่างกันไปตามช่องทางที่ได้รับพิษ 

สัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษผ่านผิวหนังหรือขน 

น้องหมา น้องแมวที่ได้รับพิษผ่านผิวหนังหรือขน จำเป็นที่จะต้องตัดขนอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการใช้ล้างด้วน้ำอุ่นผสมสบู่ แชมพู หรือ น้ำยาล้างจาน ล้างให้ทั่วตัวหรือบริเวณที่โดนพิษหลาย ๆ ครั้ง ห้ามถูตัวแรง ๆ เพราะอาจยิ่งทำให้เกิดการระคายเคือง หรือกระตุ้นสารพิษซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้ง และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 

สารพิษเข้าตาสัตว์เลี้ยง  

เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับพิษเข้าตา ให้รีบใช้น้ำสะอาดอุณหภูมิปกติไหลผ่านตาเบา ๆ โดยใช้เวลา 10-20 นาที ขึ้นไป แล้วรีบพาไปหาหมอทันที 

สัตว์เลี้ยงกินหรือเลียสารพิษเข้าปาก

กรณีที่สัตว์เลี้ยงเผลอเลียหรือกินสารพิษเข้าไปแต่ยังรู้สึกตัวอยู่ ให้กระตุ้นทำให้อาเจียนและป้อนสารดูดซับสารพิษ แต่ห้ามทำให้อาเจียนเด็ดขาดหากสัตว์เลี้ยงหมดสติหรือไม่รู้สึกตัว และสารพิษที่น้องหมาน้องแมวได้รับมีฤทธิ์ในการกัดกร่อน เพราะจะยิ่งทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับอันตราย แต่ให้ทำการล้างช่องปากและบริเวณโดยร้อบด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านแทน จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลสัตว์ให้เร็วที่สุด 

ยากระตุ้นให้อาเจียน 

เกลือแกง 

ใช้เกลือแกง 1-3 ช้อนชา เพื่อกระตุ้นให้อาเจียน แต่ต้องระวังเรื่องระดับโซเดียมในเลือดสูง เพราะเกลือแกงสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สมองบวมและชักได้  และไม่ควรใช้เกลือแกงกับสัตว์ที่อายุยังน้อยหรือในสัตว์เล็ก

น้ำยาล้างจานที่มี่ส่วนผสมของฟอสเฟต 

ใช้น้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของฟอตเฟต 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 250 มิลลิลิตร หรือ น้ำ 1 แก้ว แต่ห้ามใช้น้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของแอลคาไลเพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนมาก จะยิ่งทำให้เสัตว์เลี้ยงเป็นอันตราย

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% 

ใช้ไฮโดรเจเปอร์ออกไซด์ 3% ปริมาณ 1-5 มิลลิลิตร / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิลิตร / ครั้ง) 

Ipecac 

ป้อนน้ำเชื่อมไอปิแคค 7% ในปริมาณ 1-2 มิลลิลิตร / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือเจือจางในน้ำ 1:1 หากป้อนแล้วยังไม่อาเจียน สามารถป้อนได้อีก 1 ครั้ง แต่เนื่องจาก Ipecac มีรสขม อาจทำให้สัตว์เลี้ยงไม่ยอมกิน อีกทั้งอาจมีผลต่อหัวใจ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง หรือหลีกเลี่ยงในการใช้หากไม่จำเป็น

ยาหรือสารช่วยดูดซับสารพิษ 

ผงถ่าน (Activated charcoal) 

ป้อนผงถ่านประมาณ 10 เท่าของสารพิษที่สัตว์เลี้ยงได้รับ หรือ ใช้ผงถ่านประมาณ 1-4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกกรัม โดยผสมผงถ่าน 1 กรัม ลงในน้ำ 5 มิลลิลิตร แล้วป้อนให้สัตว์เลี้ยงเพื่อดูดซับสารพิษ หรืออาจทำให้อาเจียน แต่ห้ามป้อนผงถ่านพร้อมกับยาอื่น เพราะผงถ่านจะไปดูดซับตัวยานั้นด้วย ทำให้ฤทธิ์ยาไม่ได้ผล และหลังจากป้อนผงถ่าน 30 นาที ให้ป้อนยาระบายตามไปด้วย (ยาระบาย เช่น แลคทูโรท หรือ ซอร์บิทอล) เพื่อช่วยเร่งการระบายสารพิษที่ผงถ่านดูดซับ และป้องกันผงถ่านคายสารพิษกลับสู่ร่างกาย 

ข้อควรระวังในการใช้ผงถ่าน : ห้ามใช้ผงถ่านในสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น สารกรดหรือด่าง และ ไฮโตรคาร์บอน เพราะผงถ่านดูดซับไม่ได้ 

อย่างไรก็ตาม ยิ่งช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม และรีบพาส่งหมอให้เร็วที่สุดได้มากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสที่จะช่วยเหลือชีวิตสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณได้มากเท่านั้น

Previous Post
Next Post