ทำไมขยะอาหารจึงมีปริมาณเพิ่มขึ้น เราสูญเสียอาหารไปเท่าไรในแต่ละวัน และการลดขยะอาหารช่วยแก้ปัญหาให้ยั่งยืนได้อย่างไร

ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกจะต้องเร่งจัดการด่วน เพราะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม คือ การสูญเสียอาหาร และ ขยะอาหาร เนื่องจากมีการสูญเสียอาหารทั่วโลกปริมาณ ปริมาณ 1,300 ล้านตัน หรือคิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตในแต่ละปี ที่กลายเป็นเศษอาหารเหลือทิ้ง 

และมันก็มากพอในการนำไปแก้ไขปัญหาความอดอยากของประชากรที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารทั่วโลก (world hunger) กว่า 820 ล้านคน 

การสูญเสียอาหาร และ ขยะอาหาร แตกต่างกันอย่างไร 

หลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ว่าคือสิ่งเดียวกัน แต่ที่จริงนั้นแตกต่างกันอย่างมาก โดยการสูญเสียอาหาร หรือ food loss คือ อาหารมีการสูญเสียตั้งแต่การผลิต หรือก่อนถึงมือผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หมายถึง ผลผลิตมีความเสียหาย เช่น มีศัตรูพืชกัดกินจนเสียหาย น้ำท่วมที่เพาะปลูกจนพืชผลเสียหาย ทำให้เก็บเกี่ยวไม่ได้ เป็นต้น ส่วน ขยะอาหาร หรือ food waste คือ การสูญเสียอาหารเมื่อถึงมือผู้บริโภคแล้ว ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ขบวนการแปรรูปคัดหรือตัดแต่งส่วนที่ไม่สวยงามทิ้ง การคัดส่วนผสมในการนำไปผลิตก่อนจำหน่าย การเก็บรักษาไม่ดีทำให้อาหารเน่าเสียจนต้องทิ้ง การกักตุนอาหารจนกินไม่ทัน การกินอาหารเหลือ การใช้อาหารตกแต่งจานเพื่อความสวยงามแล้วทิ้ง เป็นต้น  

มีรายงานจากข้อมูล FAO ว่าปริมาณขยะอาหารเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่ล้วนมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ โดยสามารถแบ่งสาหตุการสูญเสียอาหารและขยะอาหารได้เป็น 5 ช่วง ดังนี้ 

  1. สูญเสียอาหารในขั้นตอนการผลิต 
  2. สูญเสียอาหารในขั้นตอนการเก็บรักษา
  3. สูญเสียอาหารในขั้นตอนแปรรูปและบรรจุ 
  4. สูญเสียอาหารในขั้นตอนการจำหน่าย 
  5. สูญเสียอาหารเมื่อถึงมือผู้บริโภค  

สูญเสียอาหารเท่าไรในแต่ละวัน 

การสูญเสียอาหารในประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทยนั้นอยู่ที่ประมาณ 44% ของการสูญเสียอาหารของโลก ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างเทศยุโรปและอเมริกาเหนือ มีการทิ้งขยะเศษอาหารในปริมาณ 95 – 115 กิโลกรัม / คน / ปี โดยที่ประชากรในประเทศแถบแอฟริกาใต้ เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการทิ้งขยะเศษอาหารปริมาณ 6 – 11 กิโลกรัม / คน / ปี ซึ่งสาเหตุหลักของการสูญเสียอาหาร คือพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งสิ้น เช่น

  • การไม่ยอมรับในอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน หรือมีรูปร่างที่ผิดแปลก เช่น แอ๊ปเปิลที่ไม่เป็นทรงกลมก็จะถูกคัดทิ้ง 
  • กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย อย่างการซื้อ 1 แถม 1 ฯลฯ ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากเกินจำเป็นจนอาจทำให้บริโภคไม่ทัน 
  • ปัญหาจากการจัดเก็บไม่ดี ทำให้อาหารเน่าเสียหมดอายุ
  • ปัญหาจากการชำรุดแตกหัก เช่น มีไข่ไก่แตกเพียงไม่กี่ฟองในแผงแต่ทิ้งไข่ทั้งแผง เป็นต้น 
  • การเข้าใจผิดในสัญลักษณ์วันหมดอายุระหว่าง “BB / BBE” ที่หมายถึง “ควรบริโภคก่อน” คือ อาหารยังคงทานได้โดยไม่มีอันตราย แต่เมื่อเลยวันที่ระบุไว้ อาหารอาจมีรสชาติและคุณค่าอาหารเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ได้เสีย กับ “EXP” คือ “วันหมดอายุของอาหาร” และไม่ควรทานต่อเพราะเสี่ยงต่ออันตรายต่อสุขภาพ ทำให้หลายคนทิ้งอาหารที่ยังไม่หมดอายุเพราะความเข้าใจผิด 

ขยะอาหารส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร 

ขยะเศษอาหารเหลือทิ้ง เมื่อถูกนำไปยังบ่อขยะเพื่อรอการย่อยสลายในหลุมฝังกลบ ระหว่างกระบวนการย่อยทางธรรมชาติจะมีการปล่อยก๊าซมีเทน ที่นอกจากเป็นมลพิษแล้ว ยังเป็นส่วนประกอบของก๊าซเรือนกระจก ที่มีคุณสมบัติเก็บกักความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า!! เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING) และสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้วที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหากันอยู่ในขณะนี้

ปัญหาเศษอาหารในประเทศไทย 

ปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในประเทศไทยมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น 

  • สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเมืองไทยเป็นประเทศเขตร้อนชื้น ทำให้อาหารเน่าเสียง่าย หากไม่มีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง  
  • ปัญหาด้านเทคโนโลยีการผลิต เช่น  การตัดชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานของโรงงานทิ้ง แม้ว่าจะยังมีคุณค่าอาหารและทานได้ก็ตาม 
  • พฤติกรรมผู้บริโภคที่ขาดความตระหนักของปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะเศษอาหาร การไม่ได้ให้ความใส่ใจในการลดขยะ และการแยกขยะ ทำให้มีขยะอาหารปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น พลาสติก กระดาษ เป็นต้น 

สาเหตุเหล่านี้ทำให้ปริมาณขยะในประเทศไทยมีมากเกินขีดจำกัด ทำให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และยังก่อให้เกิดมลพิษจนส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก 

แนวทางการแก้ปัญหาขยะอาหารในประเทศไทย  

จากการรวบรวมข้อมูลสถิติปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนโดยเทศบาล พบว่ามีปริมาณขยะอาหาร 64% หรือประมาณ 17.87 ล้านตัน / ปี ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด 27.93 ล้านตัน หรือประมาณ 76,529 ตัน / วัน 

ซึ่งยังไม่รวมกับขยะอาหารที่มีการจัดการจากภาคเอกชน การจัดการขยะมูลฝอยเพื่อนำไปรีไซเคิลประมาณ 9.76 ล้านตัน ส่วนขยะมูลฝอยประมาณ 10.85 ล้านตันจะถูกนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบหรือเผาในเตาขยะที่มีการควบคุม แต่จะมีปริมาณขยะอีก 7.32 ล้านตัน ที่ถูกนำไปทิ้งยังแหล่งกองขยะที่ไม่มีการควบคุม ก่อให้เกิดมลพิษต่อผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เช่น การกระจายเชื้อโรค เกิดการปนเปื้อนลงสู่ดินและแหล่งน้ำ จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

การลดขยะอาหารช่วยแก้ปัญหาให้ยั่งยืนได้อย่างไร

การจัดการปัญหาขยะเศษอาหารที่ดีที่สุด คือ การลดปริมาณและป้องกันการเกิดขยะอาหาร ซึ่งจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายท้้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทุกคนที่จะต้องจัดการขยะในครัวเรือนของตน แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีกฏหมายในการจัดการขยะอาหารและการสูญเสียอาหารที่ชัดเจน แต่ก็มีความตื่นตัวในการรณรงค์และโครงการต่าง ๆ ไว้ในแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยในภาคเกษตรกรรมและอาหารมีแผนการลดความสูญเสียในการผลิต 5% / ปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2579 ในขณะที่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและผู้ผลิตอาหารต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะอาหารโดยมีการคำนวณการผลิตให้เหมาะสมต่อการบริโภค ส่วนในด้านประชาชนทุกครัวเรือน สามารถมีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรมการบริโภคดังนี้ 

  • วางแผนการซื้อและบริโภคสินค้า 
  • ปรุงอาหารเท่าที่กิน และ ตักอาหารแต่พออิ่ม ไม่อิ่มค่อยตักเพิ่ม 
  • อาหารที่กินไม่หมดและยังทานได้ สามารถนำมาปรุงเป็นเมนูใหม่ได้ 
  • เลือกทานอาหารที่ใกล้หมดอายุก่อน 
  • ทำความเข้าใจระหว่าง BB / BBE และ EXP ให้ชัดเจน จะได้ไม่ทิ้งอาหารที่ยังกินได้ 
  • บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับมูลนิธิ ให้กับผู้ที่ขาดแคลน หรือสัตว์จรจัด 
  • แยกขยะอาหารออกจากขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพื่อนำประเภทขยะต่าง ๆ ไปรีไซเคิลได้ถูกต้อง 

เศษอาหารทำอะไรได้บ้าง 

ขยะอาหารสามารถนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมาก เช่น 

  • เป็นอาหารสัตว์ อย่าง หมู ไก่ เป็ด แมว สุนัข หรือแปรรูปเป็นอาหารสัตว์สำเร็จรูป 
  • นำไปผลิตวัสดุก่อสร้าง 
  • นำไปแปรเป็นพลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ เอทานอล เป็นต้น 
  • ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ 

แต่การจะนำขยะอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั้นค่อนข้างมีข้อจำกัด ยิ่งคนยุคปัจจุบันที่มีรูปแบบการอาศัยที่เปลี่ยนไปจากสมัยดั้งเดิม โดยเฉพาะคนในเมืองหรือแหล่งที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างแออัด มีลักษณะการอาศัยอยู่ในอาคารและตึกสูง ทำให้มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถทำการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารได้ อีกทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมไปถึงปัญหาการถูกรบกวนจากสัตว์ต่าง ๆ อย่าง มด หนู แมลง ทำให้คนที่อยู่คอนโดทิ้งขยะลงถังขยะเศษอาหารหรือถุงดำรวมกับขยะอื่น ๆ แล้วนำไปทิ้งยังกองกลางที่มีการจัดตั้งไว้ให้ เพื่อรอให้รถเทศบาลมานำไปยังบ่อขยะอีกที เพื่อเข้าสู่กระบวนการเกิดมลพิษตามที่เรากล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

ด้วยรูปแบบไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่นี้เอง ทำให้ปัญหาขยะเศษอาหารไม่สามารถแก้ไขได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีนวัตกรรม เครื่องเปลี่ยนเศษอาหารให้เป็นปุ๋ย ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่ช่วยเปลี่ยนจากเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยหมักที่มากไปด้วยแร่ธาตุอาหารครบถ้วน พร้อมบำรุงดินและพืชพรรณต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้พื้นที่ให้มากมาย และไม่ต้องมีขั้นตอนให้วุ่นวายแบบการทำปุ๋ยหมักทั่วไป ที่สำคัญคือกำจัดกลิ่นชะงัด จับได้ด้วยมือเปล่า ไม่เหลือความเป็นขยะอาหารอีกต่อไป เหลือเพียงแต่ปุ๋ยที่นำไปใช้ในส่วนของการผลิตอาหารอีกครั้ง เรียกได้ว่าเป็นเครื่องกำจัดเศษอาหารได้แบบ Zero Waste คือ การลดขยะให้เป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน ถึงเวลาที่เราต้องร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะเศษอาหารที่เกิดมาจากพฤติกรรมการบริโภคของพวกเราเองทั้งสิ้นอย่างจริงจังเสียที เพราะสุดท้ายแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นก็วนเข้ามาทำร้ายพวกเราทุกคน คุณจะเป็นพลังในการหยุดปัญหาขยะอาหารได้อย่างไร คลิกเลยที่ Hass Thailand

Previous Post
Next Post