แนะวิธีตรวจชีพจร การวัดสัญญาณชีพเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้
เราสามารถตรวจชีพเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง จากการจับตามบริเวณอวัยวะที่มีเส่นเลือดแดงอยู่ใกล้กับผิวหนัง เช่น ข้อมือ หรือ ลำคอ วันนี้เราจะมาแนะวิธีการตรวจชีพจรเบื้องต้นด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้วัดสัญญาณชีพ เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบภัยหรือผู้ป่วยในขั้นต่อไปได้อย่างเหมาะสม อวัยวะส่วนใดที่สามารถตรวจวัดชีพจรได้บ้าง ข้อมือ วิธีตรวจชีพจรที่ข้อมือ ทำได้โดยการยื่นมือข้างหนึ่งไปข้างหน้า งอศอกเล็กน้อย และหงายฝ่ามือขึ้น จากนั้นวางนิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งลงไปจับชีพจรที่ข้อมือบริเวณโคนนิ้วโป้ง กดนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนผิวหนัง จนกว่าจะรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร หรืออาจขยับตำแหน่งนิ้วทั้งสองจนกว่าจะเจอจุดที่รับรู้ถึงชีพจร ลำคอ ลำคอเป็นอีกบริเวณของร่างกายที่สามารถวัดชีพจรได้ แต่จะยากกว่าที่บริเวณข้อมือ วิธีการตรวจชีพจรที่ลำคอ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงลำคอ บริเวณใต้กรามใกล้กับหลอดลม ซึ่งเป็นจุดชีพจรบริเวณเส้นเลือดแดงแคโรติคที่ไปเลี้ยงสมอง ไม่ควรจับชีพจรที่คอพร้อมกันทั้งสองด้าน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายและหมดสติได้ การวัดชีพจร นับอย่างไร เมื่อสามารถหาจุดที่สามารถรับรู้ได้ถึงการเต้นของชีพจร ให้เริ่มนับอัตราการเต้นของชีพจร 1 นาที โดยอาจจับเวลา 1 นาที แล้วนับจำนวนครั้งที่ชีพจรเต้น หรืออาจจับเวลา 30 วินาที แล้วจึงนับจำนวนครั้งที่ชีพจรเต้นนำไปคูณด้วย 2 การตรวจหาความผิดปกติของจังหวะการเต้นหัวใจ ควรจับชีพจรแล้วสังเกตความผิดปกติของจังหวะชีพจรภายใน 20 – 30 วินาที ว่าชีพจรเต้นเร็ว เต้นแรง ชีพจรเต้นอ่อน หรือ ชีพจรเต้นขาดช่วงหรือไม่…