สมาธิของเด็กในแต่ละวัยกับกิจกรรมเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม

เด็กในแต่ละวัยมีขีดจำกัดในช่วงเวลาของสมาธิไม่เท่ากัน หยิบจับทำอะไรเดี๋ยวเดียวก็เปลี่ยนไปสนใจอย่างอื่น ยิ่งเด็กเล็กก็ยิ่งมีความจดจ่อต่อสิ่งตรงหน้าได้น้อย ไม่จำเป็นว่าลูก 6 เดือน อยู่ไม่นิ่ง หรืออายุลูก 7 เดือน อยู่ไม่นิ่ง แต่สมาธิในแต่ละช่วงอายุจะมีการพัฒนาการไปตามวัยของเด็ก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราควรส่งเสริมเด็กในแต่ละวัยด้วยกิจกรรมอะไรได้บ้าง เพื่อให้ลูกมีสมาธิมากขึ้น บทความนี้มีคำตอบค่ะ

เด็กวัย 1 – 3 ขวบ

เด็กวัย 2 – 3 ขวบยังเป็นเด็กเล็ก มีความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งรอบข้าง แต่จดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้นาน เพราะยังมีสมาธิน้อยมาก เปลี่ยนไปสนใจอย่างอื่นได้รวดเร็ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรหากิจกรรมเสริมพัฒนาการวัย 1 – 3 ปี เพื่อให้มีสมาธิได้นานขึ้น เช่น การฟังนิทาน การวาดรูป ระบายสี หรือ ทำงานศิลปะง่าย ๆ เป็นต้น 

เด็กวัย 4 – 5 ขวบ 

เด็กอายุ 4 – 5 ขวบ  เป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาด้านสมาธิและด้านอื่น ๆ พ่อแม่จึงควรหากิจกรรมเล่นกับลูก ที่ช่วยส่งเสริมสมาธิให้กับพวกเขาได้อย่างต่อเนื่อง อย่างการเล่นเกมต่าง ๆ เช่น เล่นเกมจับคู่ การทายภาพ การจับคู่สี การต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้เด็กจดจ่อและมีสมาธิมากขึ้น

เด็กวัย 6 – 7 ปี 

เด็กวัย 6 – 7 ขวบ ควรมีสมาธิประมาณ 12 – 35 นาที หากบ้านไหนที่พบว่าเด็กมีสมาธิสั้นกว่าปกติ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียด เพราะอาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังมีปัญหาด้านสมาธิ โดยพ่อแม่สามารถใช้แบบทดสอบว่าลูกสมาธิสั้นหรือไม่ อย่างการเล่นบอร์ดเกมฝึกทักษะ การทำงานฝีมือต่าง ๆ เช่น การตะแปะกระดาษ การพับกระดาษ เป็นต้น นอกจากใช้เพื่อสังเกต ยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาสมาธิให้กับลูกด้วยค่ะ

เด็กวัย 8 – 9 ปี 

เด็กช่วงอายุ 8 – 9 ปี มีสมาธิประมาณ 16 – 40 นาที เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการมีสมาธิมากขึ้น มีความนิ่งมากขึ้น เหมาะกับกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะทางร่างกายและความคิดร่วมกัน เช่น การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา เป็นต้น 

เด็กวัย 10 ปีขึ้นไป 

เด็กที่มีอายุ 10 ปี ขึ้นไป มีสมาธิไม่เกิน 45 นาที มีความจดจ่อและนิ่งได้โดยไม่วอกแวกต่อสิ่งเร้ารอบตัวไม่เกิน 45 นาที ซึ่งผู้ใหญ่หลาย ๆ คนก็เช่นกัน กิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กวัย 10 ปีขึ้นไป ควรให้ทำงานที่มีการคิดวิเคราะห์ มีกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และคิดตาม เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตในแต่ละวันได้นั่นเอง 

Previous Post
Next Post