
รู้หรือไม่ อาหารที่เรากิน อาจมีสารฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสเฟต อันตรายถึงตาย!!
ระวัง!! อาหารที่เราซื้อมาทานกันอยู่ทุกวันนี้ มักจะมีสารฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายจนเสียชีวิตได้ ซึ่งสารเคมีที่นิยมใช้ในทางการเกษตรขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารออร์กาโนฟอสเฟตคืออะไร สารออร์กาโนฟอสเฟต ภาษาอังกฤษ คือ Organophosphate เป็นสารเอสเทอร์ (Eater) ของกรดฟอสฟอริค (Phosphoric acid) เป็นกลุ่มสารฆ่าแมลงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของภาคเกษตรกรรมในปัจจุบัน สามารถพบกลุ่มสารเหล่านี้ตกค้างในพืชผัก ผลไม้ จากการที่เกษตรกรใช้สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช และสารกลุ่มนี้ถูกจัดให้เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของปัญหาสุขภาพจากการได้รับสารพิษ และมีอัตราการเสียชีวิตสูง Organophosphate มีอะไรบ้าง สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ได้แก่ โมโนโครโตรฟอส (Monocrotophos) ไดเมทโธเอต (Dimethoate) ไดโครโตรฟอส (Dicrotophos) พาราไธออน – เมธิล (Parathion – methyl) และ พาราไธออน (Parathion) และ ไดคลอร์วอส หรือดีดีวีพี (Dichlorvos / DDVP) มาลาไทออน (malathion) เทเมฟอส (Temephos) คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyriphos) ไดอะซินอน…

ทำอย่างไรให้บ้านมีกลิ่นหอมตลอดวัน กับ 7 วิธีเพิ่มกลิ่นหอมให้บ้านง่าย ๆ
7 วิธีเพิ่มกลิ่นหอมให้บ้าน | วันนี้เรามีวิธีทำอย่างไรให้ห้องนอนมีกลิ่นหอมสดชื่นจนอยากนอนขลุกอยู่แต่ในบ้านทั้งวัน ชาร์จพลังงานชีวิตอย่างเต็มที่

การนวดหัวใจ ผายปอดอย่างถูกวิธี ช่วยลดการสูญเสียที่คุณก็ทำได้
อุบัติภัยที่พบได้บ่อยมากที่สุดในช่วงหน้าฝน คงจะหนีไม่พ้น ถูกไฟช็อตไฟดูดจากกระแสไฟฟ้ารั่วลงน้ำที่ท่วมขัง หรือไฟช็อตจากการสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะตัวเปียกหรือยืนอยู่ในที่มีน้ำขัง เนื่องจากน้ำเป็นตัวสื่อนำไฟฟ้าได้อย่างดี ทำให้พบเจอผู้ประสบเหตุดังกล่าวจำนวนมาก ไม่แพ้กรณีอุบัตเหตุคนจมน้ำ แต่ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดที่เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เราอาจช่วยลดการสูญเสียได้หากให้การช่วยเหลือได้ทันและอย่างถูกวิธี เราจึงนำวิธีการช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย ที่ได้รับบาดเจ็บจากการจมน้ำ ถูกไฟดูดไฟช็อต สำลักควันไฟไหม้ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อน หัวใจหยุดเต้นกระทันหัน ฯลฯ ด้วยการผายปอดและการนวดกระตุ้นหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประสบเหตุมีโอกาสรอดชีวิตและลดความเสี่ยงต่อความพิการ วิธีการผายปอดด้วยการให้ลมทางปาก ให้ผู้บาดเจ็บนอนราบในพื้นที่เรียบ จัดท่าที่เหมาะสมเพื่อเปิดทางให้อากาศเข้าสู่ปอด ผู้ปฐมพยาบาลควรอยู่บริเวณศีรษะของผู้บาดเจ็บด้านซ้ายหรือขวามือก็ได้ ใช้มือดึงคางผู้บาดเจ็บมาด้านหน้า และใช้มืออีกข้างดันหน้าผากไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้ลิ้นอุดกั้นทางเดินหายใจ และระวังไม่ให้นิ้วมือที่ดึงคางกดลึกลงเนื้อใต้คาง เพราะจะไปอุดกั้นทางเดินหายใจ (*กรณีเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ไม่ควรแหงนคางและคอมากเกินไป เพราะอาจทำให้หลอดลมแฟบ และอุดกั้นทางเดินหายใจ*) สอดนิ้วหัวแม่มือเข้าในปากและอ้าปากของผู้บาดเจ็บ เพื่อล้วงและนำสิ่งของในปากที่อาจไปขวางทางเดินหายใจออกให้หมด เช่น เศษอาหาร ฟันปลอม เป็นต้น ผู้ปฐมพยาบาลอ้าปากตนเองและสูดหายใจเข้าปอดให้เต็มที่ ใช้มือข้างหนึ่งบีบจมูกผู้บาดเจ็บให้แน่นสนิท และใช้มืออีกข้างดึงคางผู้ป่วยมาข้างหน้า ประกบปิดปากผู้บาดเจ็บพร้อมเป่าลมเข้าไป ทำเป็นจังหวะ 12-15 ครั้ง / นาที ขณะที่เป่าปาก ใช้สายตาเหลือบมองการเคลื่อนไหวของหน้าอกผู้บาดเจ็บ หากหน้าอกไม่มีการขยับขึ้น-ลง อาจเนื่องมาจากท่านอน หรือมีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ ให้ลองสังเกตและหาสาเหตุเพิ่มเติม กรณีที่อ้าปากผู้บาดเจ็บไม่ได้ ให้เป่าลมเข้าทางจมูกแทน…

โรคที่มากับหน้าฝน วิธีป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย
ฝนที่ตกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันในช่วงนี้ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเปียก เดี๋ยวชื้น ยิ่งเข้าช่วงฤดูฝนอย่างจริงจังด้วย ก็ยิ่งทำให้ส่งผลต่อสุขภาพ และสิ่งที่แแอบแฝงและแถมมาด้วย คือ โรคติดต่อหน้าฝน ที่อันตรายไม่น้อยเลย โรคที่มากับฝนที่ต้องระวังมีอะไรบ้าง 1. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร ที่พบได้บ่อย คือ อาหารเป็นพิษ บิด อุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตับอักเสบ เป็นต้น โดยสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อน ส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ วิธีป้องกัน : ต้องระวังเรื่องการกินเป็นพิเศษ ไม่รับประทานอาหารดิบหรือกึ่งดิบ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องรับประทานร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น 2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ อย่างปอดบวม ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ มักจะพบเจอกันมากในช่วงเข้าสู่ฤดูฝน เพราะสภาพอากาศเอื้อต่อเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ให้เติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งช่วงนี้มีเรื่องของโรคระบาดอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 ยิ่งต้องระวังให้เป็นพิเศษ เพราะสามารถติดโรคต่อกันได้ง่ายมาก ด้วยละอองฝอยน้ำลายเพียงแค่ ไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อ อย่าง น้ำมูก…
- 1
- 2